กวีนิพนธ์ บนถนนประชาธิปไตย

By Mod

พรชัย จันทโสก : รายงาน [email protected] จุดประกาย วรรณกรรมปีที่ 20 ฉบับที่ 6905วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 วันนี้-19 สิงหาคม 2550 วันลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทยที่มีการออกเสียงลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ หลังจากรัฐธรรมนูญปี 2540 ต้องยุติบทบาทลงอันเนื่องมาจากเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน 2549 หากย้อนกลับไปนับเป็นเวลา 75 ปีของการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นต้นมา ประเทศไทยต้องเผชิญกับภาวะชะงักงันของประชาธิปไตยโดยเกิดการปฏิวัติรัฐประหารล้มล้างรัฐธรรมนูญและใช้อำนาจเผด็จการเข้าปกครองบ้านเมืองหลายครั้งหลายหนด้วยกัน และแต่ละครั้งกว่าประชาธิปไตยจะลุกขึ้นมาเริ่มต้นสานต่ออีกครั้งก็ล้วนต้องใช้เวลาเยียวยา การแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นขณะนี้จึงต้องศึกษาบทเรียนความเจ็บปวดจากประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และกวีนิพนธ์เป็นกระบอกเสียงอย่างหนึ่งที่สะท้อนเหตุการณ์บ้านเมืองได้เป็นจริงที่สุด นักเขียน นักกวี ในแต่ละยุคสมัยในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของสังคมก็ได้ทำหน้าที่จารึก ถ่ายทอด และสะท้อนภาพประชาธิปไตยไว้ตามยุคตามสมัย โดยขึ้นอยู่กับภูมิหลังและทัศนะของนักเขียนหรือกวีแต่ละคนไป การได้อ่านหนังสือที่นักเขียนหรือกวีแต่ละคนบันทึกไว้เป็นการเดินเข้าไปในประวัติศาสตร์แต่ละยุคโดยผ่านตัวอักษร ซึ่งบางชิ้นก็ได้คิด บางชิ้นก็ได้รู้สึก หรือทั้งได้คิด ได้รู้สึกต่างๆ กันไป กวีนิพนธ์บนถนนประชาธิปไตย หนังสือในโครงการประชุมบทกวีร่วมสมัยส่งเสริมประชาธิปไตย จัดพิมพ์โดยสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย กองทุนศรีบูรพา และสโมสรสยามวรรณศิลป์…

ค่ายวรรณกรรม ค่ายคบเด็กสร้างฝัน สนุกนะเธอ จะบอกให้

By Mod

เครือข่ายนักเขียนแห่งประเทศไทย จัด ค่ายคบเด็กสร้างฝัน เขียนเป็นเรื่อง ทำเป็นเล่ม ณ สำนักกลางนักเรียนคริสเตียน (STUDENT CHRISTIAN CENTER) กรุงเทพมหานคร เด็กชาวค่ายมากจากแทบทุกมหาลัยค่ะ ตั้งแต่ จุฬา ธรรมศาสตร์ รามคำแหง เกษตรศาสตร์ มหิดล แพทย์ศิริราช มหาสารคาม นเรศวร มรภ.นครสวรรค์ (แอบเก๋ มีนักศึกษาจีนมาด้วย) มรภ. สุรินทร์ มรภ. วไลยอลงกรณ์ มรภ. ภูเก็ต ราชมงคลเทคนิคกรุงเทพ ราชมงคลธัญบุรี โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ และ รร. ตาคลี นครสวรรค์ ไม่อยากจะบอกเลยค่ะ ว่างานนี้ เรารับหน้าที่พิธีกรตลอดรายการ ตั้งแต่เช้า แถมด้วยการเป็นพี่เลี้ยงกลุ่มด้วยค่ะ กลุ่มของเรา พี่กว่าชื่น แสนน่ารัก (ให้โอกาสคนอ่านแหวะได้ 1 หน) คือ กลุ่ม 1 มีน้องเก้า มหิดล เป็นหัวหน้ากลุ่มค่ะ หลังจากพิธีเปิดที่เรียบง่าย…

บันทึกความทรงจำบางเรื่อง ประวัติศาสตร์จากคนเล็กๆ และ..ถ้าคุณอยากรู้จัก 6 ตุลาคม

By Mod

บันทึกความทรงจำบางเรื่อง ของ สินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย ในสถานการณ์บ้านเมืองที่นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงเรื่องเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ในแบบที่พยายามบิดเบือนข้อมูล และทำลายความน่าเชื่อถือของกลุ่มผู้ต่อสู้ในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ป่วยการ ที่จะอธิบายความให้กับเขาผู้นั้น เมื่อข้าพเจ้าได้รับ “บันทึกความทรงจำบางเรื่อง” ของ สินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย  ในงานวันเปิดตัวหนังสือนั้น ข้าพเจ้าเปิดผ่านบทบทแรกๆ ที่ว่าด้วยชีวิตในวัยเด็ก ไป และเจาะอ่านเฉพาะ “เรื่องของแดง” “บันทึก วันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519″ และ ” ผู้เป็นสัญญลักษณ์แห่งการไม่ยอมจำนน” แดง ก็คือ มนัส เศียร์สิงห์ ผู้พลีชีพในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ข้าพเจ้าบอกด้วยความสัจจริงว่า แม้จณะนั่งอยู่หน้าเวทีเสวนา หน้าลานน้ำพุ ณ สถาบันปรีดี พนมยงค์ ภาพ มนัส เศียร์สิงห์ เสียชีวิตอย่างถูกทารุณทำให้ข้าพเจ้าน้ำตารื้น และไม่รู้จะทำอย่างไรเพื่อปกปิดดวงตาแดงก่ำ ข้าพเจ้ากังวลว่าน้ำตาจะไหลลงมา…

๔ นักเขียนนวนิยายยุคบุคเบิกของไทย “ศรีบูรพา” โดย รื่นฤทัย สัจจพันธุ์

By Mod

๔ นักเขียนนวนิยายยุคบุคเบิกของไทยโดย  รื่นฤทัย สัจจพันธุ์นิตยสารสกุลไทย รายสัปดาห์ ฉบับที่ 2670 ปีที่  52 ประจำวัน  อังคาร ที่  20 ธันวาคม  2548 “ศรีบูรพา”ประวัติชีวิต ศรีบูรพา เป็นนามปากกาหนึ่งของ กุหลาบ สายประดิษฐ์ เกิดเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๔๘ ที่กรุงเทพฯ บิดาชื่อสุวรรณ เป็นเสมียนเอกกรมรถไฟ มารดาชื่อ สมบุญ มาจากครอบครัวชาวนา “ศรีบูรพา” ศึกษาที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ ร่วมชั้นกับ หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์ สด กูรมะโรหิต ฯลฯ และได้ร่วมกันออกหนังสือในชั้นเรียนชื่อ ดรุณสาร และศรีเทพ นวนิยายเรื่องแรกชื่อคมสวาทบาดจิต น่าจะเขียนขึ้นในราว พ.ศ.๒๔๖๗ ระหว่างเป็นนักเรียนอยู่ที่นี่ เมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๘ ได้เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง แผนกนิติศาสตร์ พร้อมกับทำงานเลี้ยงชีพโดยทำหนังสือพิมพ์กับเพื่อน และเป็นครูสอนภาษาอังกฤษที่โรงเรียนรวมการสอน และสำนักรวมการแปลของ โกศล โกมลจันทร์ ซึ่งใช้นามปากกาว่า…

สินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย เรียกร้องสันติวิธีที่แท้จริง

By Mod

จดหมายถึงทุกท่าน สถานการณ์การเมืองในสังคมไทยขณะนี้  จะไม่สามารถนำไปสู่การพัฒนาทางการเมืองที่ก้าวหน้าสร้างสรรค์ได้  ไม่ว่าฝ่ายใดในสองฝ่ายหลักซึ่งขัดแย้งกัน  จะประสบความสำเร็จจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องยาวนาน  โดยเฉพาะการไม่นำเอาสติปัญญาแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี  ไม่เน้นการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบมาเป็นเครื่องชี้นำในการหาทางคลี่คลายปัญหาร่วมกัน โดยหลักใหญ่ใจความจะต้องเห็นความสำคัญของความมีสันติภาพที่แท้จริงของราษฎร   มีประชาธิปไตยที่แท้จริงของราษฎร  มีความเป็นธรรมของราษฎร  ทุกชนชั้นชนชาติที่มาประกอบเข้าเป็นสังคมไทย  ไม่เช่นนั้น สังคมไทยจะยังห่างไกลจากคำว่า “ประชาธิปไตยสมบูรณ์”  ที่มีหลักการสำคัญว่า “อำนาจสูงสุดนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” อย่างแท้จริง ขอเรียกร้องให้ผู้เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การเมือง    ทั้งฝ่ายที่มีอำนาจรัฐและฝ่ายที่เรียกตัวเองว่า  การเมืองภาคประชาชน  หรือผู้ที่มีอำนาจที่อยู่เบื้องหลังความเคลื่อนไหวของทุกฝ่าย  น้อมนำรับฟัง ความคิดเห็นที่แตกต่างใช้วิจารณญาณ  ใช้สติสัมปชัญญะ  มองเห็นมนุษย์ด้วยกันเป็นเพื่อนมนุษย์ผู้ร่วมชะตากรรมเดียวกัน  ที่มีสิทธิและศักดิ์ศรีเหมือนกัน  ไม่พยายามคิดแก้ปัญหาโดยอคติ  มุ่งเน้นความรุนแรง  ซึ่งจะนำพาไปสู่การประหัตประหารกันไม่ทางตรงก็ทางอ้อม  ไม่ได้เก็บรับเอาการเผชิญหน้าทางการเมือง  ด้วยความรุนแรงในอดีตที่ทำให้พัฒนาการประชาธิปไตยไทยล้มลุกคลุกคลานครั้งแล้วครั้งเล่า  มาเป็นบทเรียน มีแต่ต้องเปิดวิสัยทัศน์ให้กว้างไกล  ยอมรับความแตกต่างทางความรู้สึกนึกคิด   โดยตั้งความหวังไว้ที่การร่วมกันสร้างสรรค์จรรโลงการเมืองในสังคมไทยให้ก้าวหน้า   ยอมรับการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลาย  เปิดพื้นที่ให้ผู้ที่มีความเห็นต่างได้มีที่ยืนอย่างเท่าเทียม  จึงจะเป็นทางแก้ไขปัญหาโดยไม่กลับไปสู่วังวนเดิมอีก  เป็นหนทางหนึ่งของจุดเริ่มต้นเพื่อไปสู่ประชาธิปไตยสมบูรณ์ของราษฎร ………………. สังคมไทย  ยังมีความหวัง……… ด้วยรักและศรัทธาในสันติธรรม สินธุ์สวัสดิ์  ยอดบางเตย อดีตผู้ประสานงานแนวร่วมศิลปินแห่งประเทศไทย (ประจำตึก กตป.) พ.ศ.๒๕๑๘ ๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๑

แฮรี่ นิโคไลดส์ บันทึกหลังกรงขัง: ราคาที่ต้องจ่ายสำหรับการเขียน ‘หมิ่นสถาบันฯ’ รายงานจากเว็บประชาไทย

By Mod

แฮรี่ นิโคไลดส์ บันทึกหลังกรงขัง: ราคาที่ต้องจ่ายสำหรับการเขียน ‘หมิ่นสถาบันฯ’ “มันน่าอับอาย”… แฮรี่ นิโคไลด์ส นักเขียนชาวออสเตรเลียผู้ใฝ่ฝันจะประสบความสำเร็จถูกศาลไทยพิพากษาให้จำคุก 3 ปี ด้วยข้อหาว่ากล่าวพาดพิงถึงรัชทายาทในหนังสือที่เขาเขียน ด้านซ้ายเป็นจดหมายฉบับหนึ่งที่เขาส่งออกมาจากเรือนจำ 7 กุมภาพันธ์ 2552 เราถูกปลุกตอน 6 โมงเช้า และผู้คุมจะมานับจำนวนนักโทษในห้องขัง ห้องขังที่เราอยู่ยาว 12 เมตร และแคบแค่ 4 เมตร แต่บรรจุนักโทษอยู่ถึง 50-60 คน เกือบทั้งหมดเป็นคนไทย เกือบทั้งหมดต้องคดีฆาตกรรมและข่มขืนกระทำชำเรา ในนั้นมีห้องน้ำเพียงหนึ่งห้อง  โถส้วมเป็นแบบนั่งยองๆ ติดกับพื้น และมีการระบายอากาศที่แย่ ผมต้องนอนสวมผ้าปิดจมูก เนื่องจากวัณโรคและปอดบวมเป็นโรคที่เป็นกันทั่วไปในคุก ผมอยู่ในคุกนี้มา 5 เดือนแล้ว นับตั้งแต่ถูกจับในเดือนกันยายน หนังสือ Verisimilitude เป็นความพยายามอย่างมะงุมมะงาหราของผมในการเขียนนวนิยายเป็นเรื่องแรก ซึ่งพิมพ์ออกมาเพียงแค่ 50 เล่ม และขายได้แค่ 7 เล่ม ผมรักประเทศไทยและเคารพในหลวงและพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ไม่เคยมีเจตนาจะล่วงละเมิดพระองค์ใดๆ เลย ผมดื่มน้ำเต้าหู้กับขนมปังกรอบเป็นอาหารเช้า จากนั้น…