นายวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ นักเขียนรางวัลศรีบูรพา ปี 2554

By Mod

นักเขียนรางวัลศรีบูรพา ปี 2554 นายวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ (Vanchai Tantivitayapitak) เกิด :   28 มกราคม พ.ศ. 2504การศึกษา :  2510-2521 ประถมศึกษา-มัธยมตอนปลาย โรงเรียนอัสสัมชัญ กรุงเทพ2522-2526 ปริญญาตรี  สาขาวิชาวรรณคดีอังกฤษ  คณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การทำงาน :  2527-2528  กองบรรณาธิการวารสารเมืองโบราณ2528-2531  กองบรรณาธิการนิตยสาร สารคดี2531-2532  หัวหน้ากองบรรณาธิการนิตยสาร สารคดี2533-2553  บรรณาธิการบริหารนิตยสาร สารคดี2554  รองผู้อำนวยการ สถานีโทรทัศน์ ทีวีไทย การศึกษาดูงาน :2537 ได้รับทุนจาก Asia Foundation ไปศึกษาดูงานการทำสื่อด้านธรรมชาติศึกษา ในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเวลาสองเดือน2538 เป็นตัวแทนประเทศไทย ไปปาฐกถาเรื่อง 50 ปีความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น2540 ได้รับทุนจากสถานทูตอังกฤษ ไปศึกษาดูงานด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศอังกฤษเป็นเวลาหนึ่งเดือน2541 สอบชิงทุนการศึกษา Chevening Scholarship ของรัฐบาลอังกฤษ เพื่อไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทได้ แต่ได้สละสิทธิ์ในเวลาต่อมา กิจกรรมพิเศษ : 2535-2543…

‘ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์’ รางวัลศรีบูรพาแด่สันติภาพ

By Mod

หลายคนคุ้นหน้าคุ้นตา ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ บนหน้าจอโทรทัศน์ บนเวทีเสวนา และหน้าชั้นเรียน ในฐานะนักวิชาการผู้เป็นสัญลักษณ์ของความสมานฉันท์ และเป็นอาจารย์หน้าดุใจดีที่พร่ำสอนลูกศิษย์ให้รู้จักการเมืองเชิงสันติ แต่อีกด้านหนึ่งของ ดร.ชัยวัฒน์ คือ นักเขียน ที่ ณ วันนี้ เป็นเจ้าของรางวัลศรีบูรพาประจำปี 2555 แล้ว ดร.ชัยวัฒน์ มีผลงานทางวรรณกรรมหลากหลายประเภท ทั้งด้านวิชาการ งานแปล สารคดี ไปจนถึงทำหน้าที่บรรณาธิการ แต่กว่าที่เขาจะมาเป็น ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างในปัจจุบัน เขาได้รับรางวัลทุนเรียนดีภูมิพล เรียนจบรัฐศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากนั้นเขาก็ได้ทุนการศึกษาจาก East West Center ไปเรียนต่อจนจบการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิตจาก University of Hawai’i สหรัฐอเมริกา ไม่เพียงเท่านั้น วิทยานิพนธ์ในสาขาปรัชญา-ทฤษฎีการเมืองสันติวิธีเรื่อง The Nonviolent Prince ของเขายังถูกเสนอชื่อเพื่อพิจารณาให้รับรางวัล 1982 Council of Graduate Schools/University Microfilms, International Dissertation Award…

ธีรภาพ โลหิตกุล นักเขียนรางวัลศรีบูรพา คนที่ 25

By Mod

ประวัติย่อ ธีรภาพ โลหิตกุล เป็นนักเขียนสารคดีอิสระ ที่มีคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์และนิตยสารหลายฉบับและเป็นวิทยากรพิเศษถ่ายทอด เทคนิคการเขียนสารคดีในสถาบันการศึกษาหลายแห่ง ธีรภาพ  เป็นชาวกรุงเทพ  เกิด เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2501 เรียนชั้นมัธยมที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ จบปริญญาตรีคณะสังคมศาสตร์ สาขาประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และเคยดำรงตำแหน่งนายกองค์การ บริหารองค์การนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปี 2525 เริ่มทำงานเป็นนักข่าวหนังสือพิมพ์หญิงยุคใหม่ต่อมาย้ายมาประจำกอง บ.ก. นิตยสารไฮคลาส, อนุสาร อสท.  และเคยเขียนบทสารคดีโทรทัศน์ในรายการโลกสลับสี สร้างผลงานสารคดีชุดแม่น้ำเจ้าพระยา, นครวัด นครธม ฯลฯ ต่อมาในปี 2537 ลาออกมาเป็นนักเขียนอิสระ มีผลงานรวมเล่มมากมาย อาทิ สายน้ำและความทรงจำ, คนโยนฟืน, คือคนดลใจ เป็นต้น ธีรภาพ เป็นคนรักการอ่านเพราะได้รับอิทธิพลมาจากคุณฯพ่อและพี่ชาย จนกลายมาเป็นแรงบันดาลใจให้เขาอยากเขียนหนังสือ ส่วนเทคนิคงานเขียนในแบบฉบับของ ธีรภาพ คือทำสารคดีให้มีชีวิต เขียนสารคดีให้เป็นบันเทิงคดี รวมทั้งต้องนำเสนอแต่ข้อเท็จจริง และที่สำคัญต้องเรียงร้อยเรื่องราวอย่างมีศิลปะ ผลงานบทความสารคดีรวมเล่ม  (ถึงตุลาคม 2551) ๑.คืนสู่พงไพรและสายน้ำ รวมผลงานสารคดีธรรมชาติและชีวิตสัตว์ จากนิตยสารไฮ-คลาส ช่วงปี ๒๕๒๗-๒๕๒๙…

ศรีดาวเรือง นักเขียนรางวัลศรีบูรพา 2557

By Mod

นามปากกา ศรีดาวเรือง  ได้แจ้งเกิดบนถนนวรรณกรรม  จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา  36 ปีแล้ว  ศรีดาวเรือง  นามปากกาของ  วรรณา  สวัสดิ์ศรี  (นามสกุลเดิม  ทรรปนานนท์)  ผลงานที่ผ่านการกลั่นกรองและถ่ายทอดออกมาเป็นงานเขียนทุกชิ้น  สื่อถึงผู้อ่านด้วยภาษาที่เรียบง่าย  แม้จะมีความรู้เพียง ป. 4  แต่เธอมีความวิริยะ  จนสามารถผลิตงานแปลภาษาต่างประเทศออกมาหลายเล่ม  ส่วนผลงานของเธอบางเล่ม  ก็ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศ  งานเขียนเรื่อง มัทรี  ยังได้รับการทำออกมาในรูปแบบภาพยนตร์สั้น  โดยสินีนาฏ เกษประไพ  สมาชิกกลุ่มพระจันทร์เสี้ยว  และทำให้เกิดการตีความเรื่องผู้หญิงที่หลากมิติยิ่งขึ้น  จากผู้ที่ได้ชมภาพยนตร์สั้น ในวาระครบรอบ 36 ศรีดาวเรือง  นักเขียนสตรีวัย 68 ย่าง 69  ปี  ได้พูดคุยให้ฟังถึงจุดเริ่มต้นของการเป็นนักเขียน  ว่าจริงๆ แล้วเธอเป็นคนบ้านนอก  เกิดที่จังหวัดพิษณุโลก  ก่อนเข้ามาทำงานขายแรงงานในกรุงเทพฯ  วรรณาเคยเขียนเรื่องสั้นส่งไปลงตีพิมพ์ในจังหวัดบ้านเกิด แต่ไม่ผ่านการพิจารณา  แต่สิ่งนี้ก็ไม่ได้ทำให้เธอเลิกล้มการเป็นนักอ่าน  และความอยากเป็นนักเขียน  เมื่อวัยเด็กเป็นคนชอบอ่านหนังสือมาตั้งแต่ชั้นประถม และติดนิสัยรักการอ่านมาโดยตลอด  บิดาของเธอเป็นคนชอบอ่านหนังสือ  ที่บ้านมีหนังสือมากมาย  รวมถึงเรื่องแปลของต่างประเทศ  จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้เป็นคนรักการอ่าน  เธอยังทำหน้าที่เป็นคนอ่านหนังสือนิทานคำกลอนให้คุณยายฟังเป็นประจำ  และอานิสงส์จากตรงนี้  ทำให้มีความสามารถทางด้านการแต่งเพลง…

คำประกาศเกียรติคุณ นายเดวิด สไมท์ และนายหลวน เหวินหัว ผู้ได้รับ รางวัลศรีบูรพาเกียรติยศ ในปี ๒๕๖๐

By Mod

เนื่องจากในปี ๒๕๖๐ เป็นปีครบรอบชาตกาล ๑๑๒ ปี กุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือ “ศรีบูรพา” คณะกรรมการกองทุนศรีบูรพา มีมติมอบรางวัลศรีบูรพาเกียรติยศแก่ ผู้แปลนวนิยายเรื่อง “ข้างหลังภาพ” ของ ศรีบูรพา เป็นภาษาของชาติตนเอง ๒ คน อันได้แก่ นายเดวิด สไมท์ (David Smyth) แปลเป็นภาษาอังกฤษ และนายหลวน เหวินหัว แปลเป็นภาษาจีน นายเดวิด สไมท์ เป็นชาวอังกฤษ จบปริญญาเอกและเป็นอาจารย์ประจำด้านไทยศึกษาของ School of Oriental and African Studies แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน สนใจเกี่ยวกับวรรณกรรมไทยในยุคบุคเบิก มีผลงานศึกษาว่าด้วยกุหลาบ สายประดิษฐ์ และแปลนวนิยายไทยเรื่อง ข้างหลังภาพ ของ ศรีบูรพา และเรื่องสั้นเด่น ๆ ของ ศรีบูรพา อาทิ ขอแรงหน่อยเถอะ คนพวกนั้น เขาตื่น เป็นต้น ทั้งยังได้ศึกษาค้นคว้าและแปลงานของนักเขียนไทยคนอื่น…

“ศรีบูรพา”:ดั่งดวงเทียน ปืนและดอกไม้หอมในใจชน

By Mod

“ศรีบูรพา”:ดั่งดวงเทียน ปืนและดอกไม้หอมในใจชน ไพลิน   รุ้งรัตน์  หยดฝนย้อยหยาดฟ้ามาสู่ดิน ประมวลสิ้นเป็นมหาสาครใหญ่ แผดเสียงซัดปฐพีอึงมี่ไป พลังไหลแรงรุดสุดต้านทาน อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล มิอาจต้านแรงมหาประชาชน  ข้าพเจ้านึกถึงบทกวีบทนี้ทันทีที่ทราบว่าองค์การยูเนสโกแห่งสหประชาชาติได้ประกาศยกย่องให้”ศรีบูรพา”หรือคุณกุหลาบ สายประดิษฐ์ ผู้ล่วงลับไปแล้วเป็นบุคคลสำคัญของโลก และให้รายการฉลองครบชาตกาล 100 ปีของท่านในวันที่ 31 มีนาคม 2548 อันเป็นวันคล้ายวันเกิดของท่าน) เป็นหนึ่งในรายการเฉลิมฉลองของยูเนสโกในปี 2548   บทกวีข้างต้นนี้เป็นของ”ศรีบูรพา”เองที่ท่านประพันธ์ไว้เมื่อครั้งยังอยู่ในสาธารณรัฐประชาชนจีน และได้ข่าวเรื่องชัยชนะของประชาชนไทย ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516  สมัยนั้นนักศึกษาได้นำมาร้องเป็นเพลงเพื่อชีวิตกันอยู่นานโดยไม่ทราบว่าเป็นบทประพันธ์ของท่าน  จนกระทั่งท่านเสียชีวิตแล้ว ความลับของบทประพันธ์นี้จึงได้เปิดเผยออกมา  ความยืนยงของท่านช่างเหมือนกับความเปรียบในบทกวีนี้เหลือเกิน  ชีวิตและผลงานของท่านค่อย ๆก่อกำเนิดขึ้นมาเหมือนหยดน้ำเล็ก ๆ ที่หยาดจากฟ้ามาสู่ดิน  และรวมกันจนเป็นทะเลใหญ่  ใหญ่จนไม่อาจปิดบังเสียงที่แผ่ซัดปฐพีจนอึงมี่ไปนั้นได้  ชื่อเสียงและผลงานนั้นจึงไหลแรงรุดสุดใครจะต้านทาน  กลายเป็นคำประกาศขององค์การยูเนสโกแห่งสหประชาชาติในที่สุด  คุณกุหลาบ  สายประดิษฐ์ เป็นบุคคลพิเศษที่มีคุณลักษณะโดดเด่นปรากฏเป็นที่ประจักษ์ทั้งในความเป็น  “ชีวิต” และ “ผลงาน”  ไม่มีส่วนใดพร่องหรือด้อยไปกว่ากัน  หากกลมกลืนและสอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างน่าอัศจรรย์   กล่าวได้ว่า คุณกุหลาบ  สายประดิษฐ์ ในฐานะนักคิด นักหนังสือพิมพ์ผู้ต่อสู้เพื่อมนุษยชาติ  และ “ศรีบูรพา” ในฐานะนักเขียน…