ข้อคิดเห็นเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดย โกศล อนุสิม

By Mod

บทนำ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ คือกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ ที่บัญญัติว่า “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี” ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากผู้ไม่เห็นด้วย จนถึงขนาดมีการเรียกร้องให้ยกเลิก โดยให้เหตุผลว่าขัดต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ตามความเป็นจริงนั้น สถาบันกษัตริย์เป็นหนึ่งเดียวกับความเป็นรัฐและเป็นชาติ ไม่ว่าจะชื่อ “สยาม” ในอดีตหรือชื่อ “ไทย” ในปัจจุบัน และไม่สามารถที่จะเปรียบเทียบในลักษณะเดียวกันกับสถาบันกษัตริย์ในประเทศต่างๆที่ยังคงอยู่ในปัจจุบันได้ เพราะสถาบันกษัตริย์ไทยนั้นมีลักษณะพิเศษที่ไม่มีในสถาบันกษัตริย์ของประเทศอื่น ในช่วงที่ผ่านมามีการวิพากษ์วิจารณ์กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพโดยกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วย ผู้เขียนจึงเขียนบทความนี้ขึ้น เพื่อทำความเข้าใจถึงความจำเป็นของการมีกฎหมายดังกล่าว บทความนี้แบ่งเป็น ๔ ตอน คือ (๑) สถาบันกษัตริย์กับประวัติศาสตร์สังคมไทย กล่าวถึงความเป็นมาของสถาบันกษัตริย์กับความเป็นรัฐชาติ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ที่ผู้เขียนได้กล่าวไว้ในย่อหน้าข้างต้นว่ามีความเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างแยกไม่ออกซึ่งนำไปสู่ (๒) ลักษณะพิเศษของสถาบันกษัตริย์ไทย มีความแตกต่างจากสถาบันกษัตริย์ในประเทศต่างๆ อันทำให้สถาบันกษัตริย์ไทยได้รับการปกป้องอย่างเคร่งครัด ด้วยกฎหมายที่มีบทลงโทษเด็ดขาด จนถูกมองว่าเป็นกฎหมายที่ขัดต่อสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน ดังที่ฝ่ายต้องการให้ยกเลิกได้กล่าวอ้างกันอยู่ขณะนี้ (๓) ปัญหาการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ วิเคราะห์ถึงการใช้เป็นเครื่องทางการเมืองของผู้ครองอำนาจรัฐก็ดี โดยผู้ที่ต้องการกำจัดฝ่ายตรงกันข้ามทางการเมืองก็ดี โดยผู้ที่แอบอ้างความจงรักภักดีก็ดี หรือผู้ที่มีความจงรักภักดีแบบสุดโต่งก็ดี ซึ่งกรณีทั้งหมดนี้ก่อให้เกิดผลในทางลบแก่สถาบันกษัตริย์ และเป็นจุดอ่อนของกฎหมายที่ฝ่ายไม่เห็นด้วยยกขึ้นมาโจมตี (๔) ข้อเสนอเพื่อการใช้กฎหมายให้เกิดความยุติธรรม…

อภิวัฒน์สู่สันติ ๑๑๐ ปี ปรีดี พนมยงค์ โดย ชมัยภร แสงกระจ่าง

By Mod

ปรี     ดาด้วยรักล้น              ศักดิ์มนุษย์ดี     ซื่อแสนบริสุทธิ์           กาจกล้าพนม คิดแต่โรจน์รุด            แด่ชาติยงค์ อยู่ยืนหยัดท้า               ฝากไว้นิรันดร์กาล ปรีดีอภิวัฒน์              ยืนจรัสไปชั่วนานปรีดีสมัครสมาน        ประคองรักสังคมไทยปรีดีอภิจิต                 สิ่งที่คิดล้วนก้าวไกลปรีดีล้ำสมัย               เพราะล่วงหน้ามาก่อนแล้วปรีดีมีศีลมั่น              ยิ่งยืนยันใจเป็นแก้วปรีดีมีธรรมแพรว       ยึดถือไว้ในใจตนปรีดีเสียสละ              มีสัจจะมีเหตุผลปรีดีแสนอดทน          มิปริปากมิบ่นใดปรีดีเราปรีดา              เพราะรู้ว่ายิ่งกว่าใครปรีดีมีหัวใจ                 มีเลือดเนื้อมีชีวิตปรีดีเราปรีดา              เพราะรู้ว่ายืนสถิตปรีดีคือนักคิด             ปรีดีคือสันติชนร้อยสิบปีแห่งปรีดี      ยังศักดิ์ศรีก้องสากลปรีดียังทานทน           เป็นปรีดาแห่งสังคมปรีดียังปรีดา               ยังยืนค่าอันควรชมยิ่งนานยิ่งขานคม       คำปรีดียิ่งปรีดิ์เปรมยิ่งนานยิ่งขานคม       คำปรีดียิ่งปรีดิ์เปรม ชมัยภร  แสงกระจ่างนายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๒

สุนทรกถา “ศรีบูรพา-ข้างหลังภาพ-มิตาเกะ-กับข้าพเจ้า”

By Mod

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ๑. เกริ่นนำท่านนายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ท่านประธานกองทุนศรีบูรพา ท่านสุภาพบุรุษ สุภาพสตรี และสุภาพชน วันนี้ ขอใช้สรรพนามแทนตัวว่า “ข้าพเจ้า” เพราะคำนี้  “ศรีบูรพา” ใช้ในความหมายของความเท่าเทียมกัน  ไม่ว่าจะด้วย “คุณวุฒิ-วัยวุฒิ-ชาติวุฒิ” และก็น่าจะขยายรวมถึง “เพศวุฒิ” ขอขอบคุณคณะกรรมการฯ ที่ให้เกียรติในการประสาทรางวัล “ศรีบูรพา” ให้แก่ข้าพเจ้า ในปีนี้ซึ่งเป็นปีสำคัญมากๆเพราะเป็นปีที่ “ประเทศไทย” มีอายุครบรอบ ๗๐ ปีในวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๒ (เปลี่ยนเมื่อ ๒๔๘๒)ปีนี้ “ศรีบูรพา” ก็ครบรอบ ๑๐๔ ปี (เกิด ๒๔๔๘/๑๙๐๕ สิ้น ๒๕๑๗/๑๙๗๔) ข้าพเจ้าเคยบ่นกับ “สุจิตต์ วงษ์เทศ” และ “เสถียร จันทิมาธร” ว่าเมื่อไรจะได้รางวัล “ศรีบูรพา” เหมือนนักคิดนักเขียนใหญ่ๆทั้งหลายกับเขาสักที คำตอบก็คือว่า “ใจเย็นๆ แล้วก็จะได้เอง”…

๓๑ มีนาคม…ครบรอบชาตกาล ๑๐๔ ปี “ศรีบูรพา” เขียนโดย กฤติธ์ศิลป์ ศักดิ์ศิริ

By Mod

เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคมที่ผ่านมา กองทุนศรีบูรพาร่วมกับสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย นำโดย ชมัยภร แสงกระจ่าง นายกสมาคมนักเขียนฯ ในฐานะกรรมการและเลขานุการกองทุนศรีบูรพา ได้จัดงานวันครบรอบชาตกาล ๑๐๔ ปี “ศรีบูรพา” (กุหลาบ สายประดิษฐ์) ขึ้นดังเช่นทุกปีสำหรับในช่วงเช้าเป็นการทำบุญถวายสังฆทานพร้อมเลี้ยงพระเพล ณ ศาลามณเฑียร วัดเทพศิรินทราวาส โดยผู้ที่มาร่วมแสดงความน้อมรำลึกถึง “ศรีบูรพา” นั้น นอกเหนือจากคณะกรรมการกองทุนศรีบูรพา ครอบครัวสายประดิษฐ์ และทีมงานจากสมาคมนักเขียนฯ แล้ว ยังพร้อมพรั่งไปด้วยแขกผู้มีเกียรติซึ่งคุ้นหน้าคุ้นตากันดีอย่าง ดุษฎี พนมยงค์, สุดา พนมยงค์, จีรวรรณ พนมยงค์, สัมพันธ์ ก้องสมุทร, สินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย ฯ รวมถึง อาจารย์นพมาตร พวงสุวรรณ อาจารย์หมวดวิชาภาษาต่างประเทศจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ ที่นำนักเรียนโรงเรียนเทพศิรินทร์มาคารวะศิษย์เก่าอย่าง“ศรีบูรพา”      “ศรีบูรพา” หรือ กุหลาบ สายประดิษฐ์ เกิดเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๘ ท่านเป็นทั้งนักคิด นักเขียน และนักหนังสือพิมพ์ที่ได้รับการยกย่องจากยูเนสโก หรือองค์การวิทยาศาสตร์…

พระไพศาล วิสาโล คว้ารางวัลศรีบูรพา ปี 53

By Mod

เมื่อวันที่ 17 มี.ค.กองทุนศรีบูรพา เปิดเผยชื่อผู้ได้รับรางวัลศรีบูรพา ประจำปี 2553 ว่า คณะกรรมการกองทุนศรีบูรพา มีมติเป็นเอกฉันท์ให้พระไพศาล วิสาโล เป็นผู้สมควรได้รับรางวัลศรีบูรพาในปีนี้ โดยจะมีพิธีมองรางวัลที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซอยทองหล่อ ถ.สุขุมวิท ในวันที่ 5 พ.ค. พร้อมกับงานวันนักเขียน ซึ่งจัดโดยสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย โดยผู้ได้รับรางวัลจะกล่าวสุนทรกถาด้วย สำหรับรางวัลศรีบูรพา เป็นกิจกรรมหนึ่งของ “กองทุนศรีบูรพา” ที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อรำลึกและเผยแพร่เกียรติประวัติของนายกุหลาบ สายประดิษฐ์ “ศรีบูรพา” นักประชาธิปไตย นักเขียน และนักหนังสือพิมพ์คนสำคัญของไทยและของโลก เพื่อมอบแก่ศิลปิน นักคิด นักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ ผู้มีผลงานอันทรงคุณค่า มีชีวิตที่เป็นแบบอย่างการใช้ชีวิตที่ดีงามและแบบ ฉบับการสร้างสรรค์งานที่มีคุณค่าต่อสังคม โดยมีผู้ได้รับรางวัลมาแล้ว 21 คน คือ นายศักดิชัย บำรุงพงศ์ (เสนีย์ เสาวพงศ์) น.ส.อำพัน ไชยวรศิลป์ (อ.ไชยวรศิลป์) คุณนิลวรรณ ปิ่นทอง นายอาจินต์ ปัญจพรรค์ นายสุจิตต์ วงษ์เทศ นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์…

สังคมขัดแย้งแตกแยกหลักธรรมพุทธศาสนาเท่านั้นที่จะหยุดได้ / สัมภาษณ์พระไพศาล วิสาโล

By Mod

เด่น นาคร รายงาน คมชัดลึก : หากการกำเนิดขึ้นของรางวัลศรีบูรพา คือเพื่อรำลึกและเผยแพร่เกียรติประวัติของ กุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือ ศรีบูรพา นักคิด นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ นักประชาธิปไตยคนสำคัญของไทยและของโลกแล้ว การมอบรางวัลศรีบูรพาให้ใครสักคนหนึ่ง จึงแน่นอนว่าผลงานความคิด คมปากกา หรือวัตรปฏิบัติของคนคนนั้น ก็ย่อมเป็นวิถีอันควรค่าต่อการยึดถือเป็นแบบอย่างต่อการครุ่นคิด เตือนสติ สร้างเสริมปัญญา ตลอดจนสรรค์สร้างสิ่งดีงามให้เกิดขึ้นในสังคมต่อไป เฉกเช่นเดียวกับที่ศรีบูรพาเคยทำประดับโลกใบนี้มาแล้ว กว่า 20 ปีของการประกาศเกียรติมอบรางวัลอันทรงคุณค่านี้ หากทอดตาที่รายชื่อของผู้ได้รับรางวัลก็ล้วนแต่ควรค่าต่อการยอมรับนับถือในผลงานกันทั้งสิ้น เช่นกัน ในปี 2553 นี้ บุคคลที่ได้รับการประกาศเกียรติยกย่องให้ได้รับรางวัลนี้ก็หาได้มิสมฐานะแต่อย่างใดไม่ ตรงข้าม ผลงานเขียนของท่านที่ตีพิมพ์ออกมาเกือบ 100 เล่ม ตลอดการทำงานเขียนมาเป็นเวลาหลายสิบปี บวกกับการจาริกเทศนาธรรมยังที่ต่างๆ นั้น ล้วนแต่คือคมคิดที่ทุกคนต้องเรียนรู้และตระหนัก ด้วยมันคือแนวทางในการสร้างสังคมสันติสุขให้เกิดมีร่วมกันนั่นเอง บ้านเมืองที่ผู้คนแบ่งฝักฝ่ายชัดเจน จนนำไปสู่ความแตกแยกทางความคิด กระทั่งเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง ขาดสติ เผาบ้านเผาเมือง หรือแม้แต่การกรีดเลือดทาแผ่นดิน…ทั้งหลายทั้งปวงที่สารพัดจะวุ่นวาย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายทุกคนต้องมีสติ และหยุดรับฟังความคิดความเห็นของบุคคลที่ควรค่าต่อการนับถือยอมรับร่วมกัน เช่นนี้ แม้ไม่อาจจะเรียกได้ว่า การประกาศให้ พระไพศาล วิสาโล…