เขาชื่อกุหลาบ สายประดิษฐ์

By Admin

เสถียร จันทิมาธร ช่วงที่ กุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือ “ศรีบูรพา” กับเพื่อนหนุ่มของเขาร่วมกันจัดตั้งกลุ่มสุภาพบุรุษขึ้นมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๒นั้น เป็นช่วงที่งดงามเบิกบานที่สุดช่วงหนึ่งในประวัติวรรณกรรมไทย ในระยะกาลเดียวกันนั้น ม.จ. อากาศดำเกิง ก็เขียนละครแห่งชีวิต  ออกมาและ “ดอกไม้สด” ก็มีผลงานของเธอปรากฏทางไทยเขษม รายเดือนแทบไม่ขาดสาย  การปรากฏขึ้นมาของนักเขียนกลุ่มสุภาพบุรุษที่มีกุหลาบ สายประดิษฐ์ เป็นผู้นำ จึงเท่ากับเป็นแรงหนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวงวรรณกรรม อันเป็นการเปิดยุคนวนิยายสมัยใหม่ที่เหออกจากแนวการเล่าเรื่องแบบนิทานด้วยการพยายามสะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ของคนเป็นๆ ออกมา จากลูกผู้ชาย-สงครามชีวิต งานของ “ศรีบูรพา” ช่วงก่อน พ.ศ. ๒๔๗๔ ส่วนใหญ่เป็นงานแบบจินตนิยมอันเป็นลักษณะร่วมสมัยอย่างหนึ่งกับงานของนักเขียนรุ่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นลูกผู้ชาย, แสนรัก-แสนแค้น,…

เมื่อผมได้สัมผัสกับตัวหนังสือของ “ศรีบูรพา”

By Admin

อาจิณ จันทรัมพร คุณสุชาติ สวัสดิ์ศรี ซึ่งเป็นมิตรที่คุ้นเคยกันมาก ได้ปรารภมาว่าได้ร่วมเป็นกรรมการจัดทำหนังสือที่ระลึก ๑๐๐ ปีศรีบูรพา เนื่องในวโรกาสที่นักเขียนเอกท่านนี้ได้รับคัดเลือกจากองค์การยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ซึ่งถือเป็นนักเขียนสามัญชนท่านหนึ่งที่ได้รับเกียรติอันสูงส่งนี้ ขอให้ผมซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่มีความสนใจและยกย่อง ทั้งเป็นผู้เสาะแสวงหาผลงานประพันธ์ของ “ศรีบูรพา” มาพิมพ์ขึ้นในโครงการอนุรักษ์วรรณกรรมเก่าและหายากให้แก่สำนักพิมพ์ดอกหญ้า โดยเป็นทั้งบรรณาธิการและผู้รวบรวมงาน ได้เขียนอะไรๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้บ้าง  เมื่อผมได้รับการปรารภและเชิญชวนจากคุณสุชาติ สวัสดิ์ศรี เช่นนี้ ถือว่าได้รับเกียรติสูง โดยเหตุสองประการ คือจะได้สนองเจตนาดีของคุณสุชาติ สวัสดิ์ศรี มิตรผู้มีชื่อเสียงโด่งดังในวงการหนังสือประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งจะได้เขียนแสดงความเทิดทูนต่อนักเขียนเอกท่านนี้ ซึ่งผมมีความสนใจและคลั่งไคล้ผลงานของท่านมาเป็นเวลายาวนานจวบจนถึงกาลปัจจุบัน ผมมีความปฏิพัทธ์ต่อ “ศรีบูรพา” มาเป็นเวลาช้านานดังที่กล่าวแล้ว จึงจะขอเล่าเท่าที่พอจะจำได้ และถ้าการเล่าจากความจำนี้เกิดผิดพลาดไปบ้าง ก็หวังว่าท่านผู้อ่านคงให้อภัย ด้วยคนวัยสูงซึ่งมีอายุถึง ๘๕…

“ศรีบูรพา” กับพัฒนาการนวนิยายไทย

By Admin

ผศ. ดร. ตรีศิลป์ บุญขจร “ศรีบูรพา” เป็นนามปากกาของ กุหลาบ สายประดิษฐ์ นักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ที่มีบทบาทในวงวรรณกรรมไทยตั้งแต่ราว พ.ศ. ๒๔๗๒ จนถึง พ.ศ. ๒๕๐๐ ในวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ จะเป็นวันครบรอบ ๑๐๐ ปีชาตกาลของนักเขียนท่านนี้ และยังเป็นโอกาสสำคัญยิ่งในวงวรรณกรรมไทย คือเป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองเนื่องจากยูเนสโกได้ประกาศให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก บทความนี้จะกล่าวถึงนวนิยายเล่มสำคัญของ “ศรีบูรพา” ได้แก่ ลูกผู้ชาย สงครามชีวิต ข้างหลังภาพ ป่าในชีวิต จนกว่าเราจะพบกันอีก และแลไปข้างหน้า เพื่อชี้ให้เห็นความสำคัญของนวนิยายดังกล่าวที่มีต่อพัฒนาการนวนิยายไทย รุ่งอรุณนวนิยายไทย…

ข้างหลังภาพ ของ “ศรีบูรพา” ในทัศนะของ ม.ล. บุญเหลือ เทพยสุวรรณ

By Admin

ม.ล. บุญเหลือ เทพยสุวรรณ ข้างหลังภาพ ของ “ศรีบูรพา” เป็นนวนิยายที่รู้จักกันดีและได้รับความนิยมชมชอบอย่างกว้างขวาง นวนิยายเรื่องนี้ใช้กลวิธีของประเภทพาฝัน แต่จบลงด้วยความเศร้า แต่ไม่ถึงกับเป็นทราเจดี ตามหลักของตะวันตก คือไม่ใช่เรื่องของบุคคลที่ใหญ่ยิ่งในด้านสังคมหรือจิตใจ ตัวละครเป็นบุคคลสามัญ แต่ในด้านวรรณศิลป์ ข้าพเจ้าถือว่า เป็นงานเขียนที่ดีเด่นเรื่องหนึ่ง ข้าพเจ้าจะเริ่มด้วยวิเคราะห์เนื้อเรื่องก่อน เนื้อเรื่อง เนื้อเรื่องมีว่า ชายหนุ่มคนหนึ่งมาจากสกุลผู้ดี มีฐานะดี กำลังศึกษาอยู่ในประเทศญี่ปุ่น มีอายุ ๒๒ ปี ชื่อนพพร ได้รับหน้าที่ให้ช่วยเหลือต้อนรับเจ้าคุณอธิการบดีอายุ ๕๐ ปี กับภรรยาที่มีฐานันดรศักดิ์เป็น ม.ร.ว. ชื่อกีรติ ชายหนุ่มคนนี้ได้พบกับคุณหญิงกีรติ ต้องใจในรูปสมบัติ ในมารยาทอันมีเสน่ห์…

สงครามชีวิต-ข้างหลังภาพ ข้อเขียนต่าง “หญ้าแพรกกับดอกมะเขือ” บูชาครู “ศรีบูรพา”

By Admin

เชิด ทรงศรี ดูรูปก่อนนะครับ, ปกสงครามชีวิต กับข้างหลังภาพ ที่สำแดงความเก่าเก็บอยู่นี้ เป็นหนังสือสุดบูชาที่เด็กชายคนจนซื้อด้วยเงินงานเขียนสามชิ้นแรก, ดังความขยายได้บรรยายไว้ในนั่งคุยกับความรักโดย เชิด ทรงศรี-คนเดียวกับเด็กชายคนจนบนถนนขรุขระสายอดีต จากนั่งคุยกับความรัก เห็นได้อย่างจะจะว่า ระพินทร์ ยุทธศิลป ในสงครามชีวิต เป็นพระเอกที่ เชิด ทรงศรี เจริญรอยตาม ก็เมื่อ “ศรีบูรพา” เป็นดั่งพรหมผู้ลิขิตชีวิตระพินทร์ให้ผมคลั่งไคล้ใหลหลง ท่านจึงเป็นเช่นเทพเจ้าที่ผมเฝ้าบูชาตลอดวัยเวลาที่อยากเป็นนักประพันธ์ เคยเห็น–แต่ไม่เคยได้พูดกับครู (กุหลาบ สายประดิษฐ์-“ศรีบูรพา”) เลย เมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่บนแผ่นดินไทย ผมยังเด็กเพิ่งจะเริ่มเดินเตาะแตะเลียบโลกวรรณกรรม ต่อเมื่อ “ศรีบูรพา” หาชีวิตไม่แล้ว ระพินทร์ ยุทธศิลป ในนาม…

ปริศนาข้างหลังภาพของ “ศรีบูรพา”

By Admin

ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ ข้างหลังภาพ อาจไม่ใช่นวนิยายที่ดีที่สุดของ “ศรีบูรพา” แต่ก็เป็นนวนิยายที่ได้รับความนิยมจากผู้อ่านทุกยุคทุกสมัยมากกว่านวนิยายเล่มอื่นๆ ของ “ศรีบูรพา” ทั้งยังเป็นนวนิยายเล่มเดียวของท่านที่มักถูกนำมาดัดแปลงสร้างเป็นภาพยนตร์ แม้จะไม่ถี่และบ่อยครั้งเท่านวนิยายรักอย่าง บ้านทรายทอง คู่กรรม หรือ ดาวพระศุกร์ ก็ตาม แต่สิ่งที่ทำให้ข้างหลังภาพ พิเศษกว่านวนิยายเล่มอื่นๆ ของท่าน และแตกต่างจาก นวนิยายรักทั่วไป ก็คือ ข้างหลังภาพ เป็นงานที่นักวิจารณ์สำนักต่างๆ นิยมนำมาวิเคราะห์ ค้นหาความหมายที่ซ่อนอยู่ “ข้างหลังภาพ” มาโดยตลอด ข้างหลังภาพ ตีพิมพ์ครั้งแรกเป็นตอนๆ ในหนังสือพิมพ์ประชาชาติ รายวัน เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๘๐…