คำสารภาพของนพพร

By Admin

เดวิด สไมท์ นวนิยายเรื่องข้างหลังภาพ เป็นนวนิยายดังที่สุดเล่มหนึ่งของไทย พิมพ์ซ้ำเกิน กว่า ๔๐ ครั้ง ทำเป็นภาพยนตร์สองครั้ง และได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น และภาษาจีนแล้ว ถึงแม้ว่า ข้างหลังภาพ ไม่ได้จัดเป็นหนึ่งใน “โครงการหนังสือดี ๑๐๐ เล่มที่คนไทยควรอ่าน” ของ วิทยากร เชียงกูล และคณะ แต่กลับมีนักอ่านนักวิจารณ์ หลายคนที่ถือกันว่าข้างหลังภาพ เป็นนวนิยายดีที่สุดของ “ศรีบูรพา” สำหรับผู้ศึกษาวรรณกรรมไทย ข้างหลังภาพ เป็นนวนิยายที่น่าสนใจไม่ใช่เฉพาะเนื้อหาสาระและฝีมือในการแต่งเรื่องของผู้ประพันธ์อย่างเดียวเท่านั้น แต่เนื่องมาจากมีนักวิชาการและนักวิจารณ์ชั้นนำตั้งแต่ อุดม ศรีสุวรรณ ม.ล. บุญเหลือ เทพยสุวรรณ…

พิจารณาการชะงักงันของความรัก ในนวนิยายเรื่องข้างหลังภาพ และลูกผู้ชาย ของ “ศรีบูรพา”

By Admin

วิภาพ คัญทัพ หากจะกล่าวถึงความเป็นที่รู้จักของนวนิยายเรื่องข้างหลังภาพ (พ.ศ. ๒๔๘๐) และลูกผู้ชาย(พ.ศ. ๒๔๗๑) ของ “ศรีบูรพา”  ข้างหลังภาพดูเป็นเรื่องที่มีภาษีดีกว่าสักหน่อย ตรงที่เคยเป็นภาพยนตร์ร่วมสมัยอยู่หลายครั้ง  ดังนั้นตัวละครเอกฝ่ายหญิงของเรื่องคือ “ม.ร.ว. กีรติ” จึงเป็นที่รู้จัก กระทั่งมีเพลงประกอบภาพยนตร์ชื่อ “กีรติ” ในขณะที่ “มาโนช” ซึ่งเป็นตัวละครเอกฝ่ายชายของเรื่องลูกผู้ชาย เป็นที่รู้จักน้อยกว่ามาก  ยิ่งพูดถึงแก่นเรื่องก็ดูจะห่างไกลความสนใจทั่วไป  แต่เป็นที่รู้จักและประทับใจในหมู่นักอ่านที่นิยมสัมผัสความเป็นมนุษย์ ในที่นี้จึงจะเพ่งเล็งพิจารณาตัวละครเอกสองตัวจากนวนิยายสองเรื่องดังกล่าว ตัวหนึ่งเป็นตัวละครฝ่ายหญิง อีกตัวหนึ่งเป็นตัวละครฝ่ายชาย เป็นการพิจารณาในแง่ของความเป็นมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์รักในบทบาทของหญิงชายที่ถูกกำหนดด้วยสถานะทางเพศและสถานะทางสังคม  ซึ่งวิถีสังคมกำหนดกรอบในการดำเนินชีวิตไว้แตกต่างกัน และ “ศรีบูรพา” ได้สะท้อนถ่ายทอดในหลายมุมมองที่น่าสนใจ  ทั้งนี้เพื่อแสวงหาคุณธรรมในความรักโดยสรุปผลจากกรณีศึกษาบทบาทของตัวละครที่ “ศรีบูรพา” ได้บรรจงวาดไว้ ข้างหลังภาพ…

กุหลาบ สายประดิษฐ์ (รำพึงถึงการเปรียบเทียบบางอย่าง)

By Admin

นพพร สุวรรณพาณิช บังเอิญเมื่ออยู่ในวัยอายุไม่เกิน ๑๘ ปี ไม่เคยอ่านเรื่องยาวแลไปข้างหน้าเลย จะได้อ่านบ้างก็เป็นนวนิยายต่างประเทศ เพราะเรียนหนังสืออยู่ในต่างแดน  กระนั้นก็ตาม มีผู้บอกว่าแลไปข้างหน้า คล้าย Little Master อยู่บ้าง  เมื่อลองอ่านแล้วก็เห็นว่าไม่คล้ายกันนัก อีกทั้งโครงเรื่องก็ต่างกัน แต่ความไม่เท่าเทียมกันทางชนชั้นนั้นมีอยู่ และคล้ายกันอย่างยิ่ง เรื่อง Little Master หรือเจ้าชายน้อย เขียนโดย นัตสุเมะ โซเซกิ นักประพันธ์ชาวญี่ปุ่น มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Botchan หรือ “บทซัง” แปลเป็นภาษาอังกฤษครั้งแรกใน ค.ศ. ๑๙๗๒ (พ.ศ. ๒๕๑๕)…

ความเหมือนที่ต่าง ระหว่าง “เญิ้ตลิญห์” (Nhat Linh) กับ “ศรีบูรพา”

By Admin

ดร. มนธิรา ราโท อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในบทความชิ้นนี้ผู้เขียนมุ่งศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดและงานเขียนของ “ศรีบูรพา” (พ.ศ. ๒๔๔๘-๒๕๑๗) และ “เญิ้ตลิญห์” (พ.ศ. ๒๔๔๘-๒๕๐๖) นักเขียนผู้มีชื่อเสียงของไทยและเวียดนาม นักเขียนทั้งสองมีชีวิตและสร้างสรรค์ผลงานเขียนในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน นอกจากเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการของงานเขียนในยุคต้นของวรรณกรรมไทยและเวียดนามแล้ว แนวคิดทางการเมืองและสังคมของพวกเขายังมีอิทธิพลต่อนักเขียนและคนรุ่นหลังอีกด้วย ผู้เขียนหวังว่าการเปรียบเทียบผลงานและแนวคิดของ “ศรีบูรพา” และ “เญิ้ตลิญห์” นี้จะช่วยให้เราเข้าใจพัฒนาการของวรรณกรรมสมัยใหม่ของไทยและเวียดนาม รวมไปถึงบทบาทของนักเขียนและปัญญาชนรุ่นใหม่ในสังคมที่กำลังเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ ทั้งนี้เพราะในการศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมนั้นไม่เพียงศึกษาตัวบทวรรณกรรมสองชิ้นเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงการศึกษาและวิเคราะห์บริบทแวดล้อมของงานวรรณกรรมชิ้นนั้นๆ ด้วย ดังเช่นที่นักศึกษาวรรณกรรมชาวตะวันตกผู้หนึ่งได้กล่าวไว้ Literature as a distinct and integral of…

“ศรีบูรพา” สามัญชนและสุภาพบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ในสายตาข้าพเจ้าผู้เป็นนักเรียนเทพศิรินทร์เช่นกัน

By Admin

จิรกิตติ์ สุนทรลาภยศ …ฉันตายโดยปราศจากคนที่รักฉัน แต่ฉันก็อิ่มใจว่า ฉันมีคนที่ฉันรัก… ประโยคอมตะจากนวนิยายชื่อดัง ข้างหลังภาพ ที่เคยได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์ มาแล้วหลายต่อหลายครั้ง ยังคงปรากฏให้ผมนึกถึงยามที่กล่าวถึงนามกวีผู้ยิ่งใหญ่ผู้นี้ “ศรีบูรพา” “ศรีบูรพา” หรือ กุหลาบ สายประดิษฐ์ หาได้เป็นเจ้าขุนมูลนายใดๆ ไม่ ท่านเป็น เพียงสามัญชนคนธรรมดาคนหนึ่งเท่านั้น แต่ที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติทั้งจากประชาชนคนไทยและได้รับการประกาศให้เป็นบุคคลสำคัญท่านหนึ่งของโลกจาก UNESCO (องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ) แสดงให้ประจักษ์ว่า ในความธรรมดานี้กลับมีความยิ่งใหญ่และทรงพลังทางความคิดและความสามารถอย่างน่าอัศจรรย์ มีคำโบราณกล่าวไว้ว่า สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล หมายถึงสิ่งใดที่แสดงออกมาย่อมแสดงถึงตัวตนของบุคคลนั้น ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับชีวิตของ “ศรีบูรพา” ก็เห็นจะจริงอยู่ไม่น้อย เพราะงานเขียนอันมากมายนั้น นอกจากจะแสดงถึงจุดยืนทางความคิดที่อิสระและเป็นตัวของตัวเองแล้ว ยังแสดงถึงคุณธรรมหรือความดีงามของท่านอีกด้วย เอกลักษณ์เฉพาะตัวของท่าน…

คือสุภาพบุรุษคนดีศรีบูรพา

By Admin

ศรีบูรพา นามปากกาของ กุหลาบ สายประดิษฐ์ เป็นนักคิด นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ นักมนุษยธรรม และนักต่อสู้เพื่อสิทธิ เสรีภาพและประชาธิปไตย ที่ได้รับการยกย่องอย่างสูงผู้หนึ่ง เขียนหนังสือทั้งร้อยแก้วร้อยกรอง โดยใช้ชื่อจริงและนามปากกาว่า “ศรีบูรพา” “อิสสรชน” “อุบาสก” ฯลฯ เป็นบุคคลผู้ยืนอยู่แถวหน้าสุดของวงการวัฒนธรรมในการสร้างสรรค์ ในการรณรงค์เพื่อเอกราช ประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค สันติภาพ และความถูกต้องเป็นธรรมในสังคม มีผลงานมากทั้งในด้านการเมือง ศาสนา ปรัชญา สังคม วิชาการ นวนิยาย เรื่องสั้น เรื่องแปล และบทกวี หลายเรื่องได้รับการพิมพ์ซ้ำหลายครั้ง จากอดีตเมื่อ…