สงครามชีวิต-ข้างหลังภาพ ข้อเขียนต่าง “หญ้าแพรกกับดอกมะเขือ” บูชาครู “ศรีบูรพา”

By Admin

เชิด ทรงศรี ดูรูปก่อนนะครับ, ปกสงครามชีวิต กับข้างหลังภาพ ที่สำแดงความเก่าเก็บอยู่นี้ เป็นหนังสือสุดบูชาที่เด็กชายคนจนซื้อด้วยเงินงานเขียนสามชิ้นแรก, ดังความขยายได้บรรยายไว้ในนั่งคุยกับความรักโดย เชิด ทรงศรี-คนเดียวกับเด็กชายคนจนบนถนนขรุขระสายอดีต จากนั่งคุยกับความรัก เห็นได้อย่างจะจะว่า ระพินทร์ ยุทธศิลป ในสงครามชีวิต เป็นพระเอกที่ เชิด ทรงศรี เจริญรอยตาม ก็เมื่อ “ศรีบูรพา” เป็นดั่งพรหมผู้ลิขิตชีวิตระพินทร์ให้ผมคลั่งไคล้ใหลหลง ท่านจึงเป็นเช่นเทพเจ้าที่ผมเฝ้าบูชาตลอดวัยเวลาที่อยากเป็นนักประพันธ์ เคยเห็น–แต่ไม่เคยได้พูดกับครู (กุหลาบ สายประดิษฐ์-“ศรีบูรพา”) เลย เมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่บนแผ่นดินไทย ผมยังเด็กเพิ่งจะเริ่มเดินเตาะแตะเลียบโลกวรรณกรรม ต่อเมื่อ “ศรีบูรพา” หาชีวิตไม่แล้ว ระพินทร์ ยุทธศิลป ในนาม เชิด ทรงศรี จึงได้เป็นนักเขียน แล้วล้ำเลยมาเป็นนักทำหนัง วิสัยการทำหนังของผม ถ้าทำจากบทประพันธ์ของใครอื่น สมัครใจที่จะยืนอยู่ข้างเจ้าของบทประพันธ์ นั่นหมายถึงว่ายึดเอาเรื่องเดิมเป็นหลัก-ด้วยความเคารพ อีกทั้งพยายามทุกวิถีทางที่จะศึกษาความรู้สึก-นึก-คิดของผู้เขียน จากตัวจริงและผลงานเขียนชิ้นอื่นๆ ดังเช่นที่เคยปฏิบัติต่อ “ทมยันตี” เมื่อสร้างพ่อปลาไหล, ความรัก (อุบัติเหตุ), ทวิภพ “ไม้เมืองเดิม” เมื่อสร้างแผลเก่า “ยาขอบ” เมื่อสร้างเพื่อน-แพง…

ปริศนาข้างหลังภาพของ “ศรีบูรพา”

By Admin

ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ ข้างหลังภาพ อาจไม่ใช่นวนิยายที่ดีที่สุดของ “ศรีบูรพา” แต่ก็เป็นนวนิยายที่ได้รับความนิยมจากผู้อ่านทุกยุคทุกสมัยมากกว่านวนิยายเล่มอื่นๆ ของ “ศรีบูรพา” ทั้งยังเป็นนวนิยายเล่มเดียวของท่านที่มักถูกนำมาดัดแปลงสร้างเป็นภาพยนตร์ แม้จะไม่ถี่และบ่อยครั้งเท่านวนิยายรักอย่าง บ้านทรายทอง คู่กรรม หรือ ดาวพระศุกร์ ก็ตาม แต่สิ่งที่ทำให้ข้างหลังภาพ พิเศษกว่านวนิยายเล่มอื่นๆ ของท่าน และแตกต่างจาก นวนิยายรักทั่วไป ก็คือ ข้างหลังภาพ เป็นงานที่นักวิจารณ์สำนักต่างๆ นิยมนำมาวิเคราะห์ ค้นหาความหมายที่ซ่อนอยู่ “ข้างหลังภาพ” มาโดยตลอด ข้างหลังภาพ ตีพิมพ์ครั้งแรกเป็นตอนๆ ในหนังสือพิมพ์ประชาชาติ รายวัน เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๘๐ มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับชีวิตรักที่ไม่สมหวังของ ม.ร.ว. กีรติ กุลสตรีผู้เพียบพร้อม แต่กลับหาคนรักมาแต่งงานด้วยไม่ได้ เมื่ออายุล่วงเลยมาถึง ๓๕ ปี เธอจึงจำต้องแต่งงาน กับพ่อม่ายวัย ๕๐ หลังแต่งงานทั้งคู่เดินทางไปฮันนีมูนที่โตเกียว ที่นั่นเธอได้รู้จักกับนพพร นักเรียนนอกวัย ๒๒ ทั้งคู่สนิทสนมกันจนกลายเป็นความรัก โดยนพพรได้สารภาพรักกับ ม.ร.ว. กีรติ คราวเมื่อทั้งคู่ไปเที่ยวธารน้ำตกที่มิตาเกะ…

คำสารภาพของนพพร

By Admin

เดวิด สไมท์ นวนิยายเรื่องข้างหลังภาพ เป็นนวนิยายดังที่สุดเล่มหนึ่งของไทย พิมพ์ซ้ำเกิน กว่า ๔๐ ครั้ง ทำเป็นภาพยนตร์สองครั้ง และได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น และภาษาจีนแล้ว ถึงแม้ว่า ข้างหลังภาพ ไม่ได้จัดเป็นหนึ่งใน “โครงการหนังสือดี ๑๐๐ เล่มที่คนไทยควรอ่าน” ของ วิทยากร เชียงกูล และคณะ แต่กลับมีนักอ่านนักวิจารณ์ หลายคนที่ถือกันว่าข้างหลังภาพ เป็นนวนิยายดีที่สุดของ “ศรีบูรพา” สำหรับผู้ศึกษาวรรณกรรมไทย ข้างหลังภาพ เป็นนวนิยายที่น่าสนใจไม่ใช่เฉพาะเนื้อหาสาระและฝีมือในการแต่งเรื่องของผู้ประพันธ์อย่างเดียวเท่านั้น แต่เนื่องมาจากมีนักวิชาการและนักวิจารณ์ชั้นนำตั้งแต่ อุดม ศรีสุวรรณ ม.ล. บุญเหลือ เทพยสุวรรณ ตรีศิลป์ บุญขจร จนถึง ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ เคยหยิบปากกามาเขียนบทวิเคราะห์ จึงทำให้ ผู้อ่านมีโอกาสมองผลงานของ “ศรีบูรพา” ชิ้นนี้ในแง่ที่น่าสนใจต่างๆ บทวิจารณ์ข้างหลังภาพ แรกๆ (ซึ่งมี อาจิณ จันทรัมพร เคยรวบรวมพิมพ์เป็นภาคผนวกในข้างหลังภาพ ฉบับที่สำนักพิมพ์ดอกหญ้านำมาจัดพิมพ์) แม้ว่าจะชมฝีมือของ ผู้ประพันธ์เป็นอย่างดี แต่ก็กล่าวทำนองว่ายังดู…

พิจารณาการชะงักงันของความรัก ในนวนิยายเรื่องข้างหลังภาพ และลูกผู้ชาย ของ “ศรีบูรพา”

By Admin

วิภาพ คัญทัพ หากจะกล่าวถึงความเป็นที่รู้จักของนวนิยายเรื่องข้างหลังภาพ (พ.ศ. ๒๔๘๐) และลูกผู้ชาย(พ.ศ. ๒๔๗๑) ของ “ศรีบูรพา”  ข้างหลังภาพดูเป็นเรื่องที่มีภาษีดีกว่าสักหน่อย ตรงที่เคยเป็นภาพยนตร์ร่วมสมัยอยู่หลายครั้ง  ดังนั้นตัวละครเอกฝ่ายหญิงของเรื่องคือ “ม.ร.ว. กีรติ” จึงเป็นที่รู้จัก กระทั่งมีเพลงประกอบภาพยนตร์ชื่อ “กีรติ” ในขณะที่ “มาโนช” ซึ่งเป็นตัวละครเอกฝ่ายชายของเรื่องลูกผู้ชาย เป็นที่รู้จักน้อยกว่ามาก  ยิ่งพูดถึงแก่นเรื่องก็ดูจะห่างไกลความสนใจทั่วไป  แต่เป็นที่รู้จักและประทับใจในหมู่นักอ่านที่นิยมสัมผัสความเป็นมนุษย์ ในที่นี้จึงจะเพ่งเล็งพิจารณาตัวละครเอกสองตัวจากนวนิยายสองเรื่องดังกล่าว ตัวหนึ่งเป็นตัวละครฝ่ายหญิง อีกตัวหนึ่งเป็นตัวละครฝ่ายชาย เป็นการพิจารณาในแง่ของความเป็นมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์รักในบทบาทของหญิงชายที่ถูกกำหนดด้วยสถานะทางเพศและสถานะทางสังคม  ซึ่งวิถีสังคมกำหนดกรอบในการดำเนินชีวิตไว้แตกต่างกัน และ “ศรีบูรพา” ได้สะท้อนถ่ายทอดในหลายมุมมองที่น่าสนใจ  ทั้งนี้เพื่อแสวงหาคุณธรรมในความรักโดยสรุปผลจากกรณีศึกษาบทบาทของตัวละครที่ “ศรีบูรพา” ได้บรรจงวาดไว้ ข้างหลังภาพ : สุภาพสตรีสูงศักดิ์ผู้งามพร้อม ในเรื่องข้างหลังภาพ ผู้อ่านมองภาพคุณหญิงกีรติผ่านสายตาของนพพรที่เฝ้าสังเกตคุณหญิงกีรติอย่างชื่นชม นับแต่ครั้งแรกที่เขาได้เห็นความงามของคุณหญิงกีรติเมื่อไปต้อนรับที่สถานีรถไฟ …แลดูเป็นสาว และเต็มไปด้วยความเปล่งปลั่ง แต่งกายงดงามมีสง่า  แม้เพียงชั่วการชำเลืองเห็นเป็นครั้งแรก ส่วนภายในจิตใจคุณหญิงกีรติเป็นอย่างไรนั้น นพพรรับรู้จากข้อความในจดหมายของเจ้าคุณอธิการบดีผู้สามีว่า …กีรติเป็นคนที่ค่อนข้างเงียบอยู่สักหน่อยสำหรับผู้ที่ยังไม่คุ้นเคยกัน แต่เป็นคนใจคอโอบอ้อมอารี ไม่ต้องสงสัย… ต่อมาเมื่อได้ใกล้ชิดกัน ในฐานะผู้นำเที่ยวของคุณหญิงในเวลาที่เจ้าคุณมีกิจกับมิตรสหายในประเทศญี่ปุ่น นพพรได้สังเกตเห็นกิริยาท่าทีของคุณหญิง พร้อมกับแนวคิดและรสนิยมอันมีลักษณะเฉพาะตัวที่น่าสนใจ …ในเวลาที่เธอได้รับความเบิกบานใจในการสนทนากับข้าพเจ้าสองต่อสอง เธอเคยเปล่งหัวเราะเต็มที่…

กุหลาบ สายประดิษฐ์ (รำพึงถึงการเปรียบเทียบบางอย่าง)

By Admin

นพพร สุวรรณพาณิช บังเอิญเมื่ออยู่ในวัยอายุไม่เกิน ๑๘ ปี ไม่เคยอ่านเรื่องยาวแลไปข้างหน้าเลย จะได้อ่านบ้างก็เป็นนวนิยายต่างประเทศ เพราะเรียนหนังสืออยู่ในต่างแดน  กระนั้นก็ตาม มีผู้บอกว่าแลไปข้างหน้า คล้าย Little Master อยู่บ้าง  เมื่อลองอ่านแล้วก็เห็นว่าไม่คล้ายกันนัก อีกทั้งโครงเรื่องก็ต่างกัน แต่ความไม่เท่าเทียมกันทางชนชั้นนั้นมีอยู่ และคล้ายกันอย่างยิ่ง เรื่อง Little Master หรือเจ้าชายน้อย เขียนโดย นัตสุเมะ โซเซกิ นักประพันธ์ชาวญี่ปุ่น มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Botchan หรือ “บทซัง” แปลเป็นภาษาอังกฤษครั้งแรกใน ค.ศ. ๑๙๗๒ (พ.ศ. ๒๕๑๕) แต่เขียนขึ้นในปี ค.ศ. ๑๙๐๒ (พ.ศ. ๒๔๔๕)  Little Master เป็นเรื่องราวของคนใช้ที่มองดูพฤติกรรมเจ้านายว่ามีความแตกต่างอย่างไรบ้างกับตัวเขา นัทสุเมะ โซเซกิ คล้ายนักเขียนยุโรปมากกว่านักเขียนอังกฤษ ยุคพระนางเจ้าวิกตอเรียนั้น วรรณคดีอังกฤษไม่คล้ายคลึงกับญี่ปุ่น แต่วรรณคดีอเมริกัน เอ็ดการ์ด แอลเลน โป มีส่วนที่นิยมกันมากในญี่ปุ่นยุคพระเจ้าเมอิจิ จนในที่สุดมีคำขวัญว่า “ใช้เทคโนโลยีตะวันตก…

ความเหมือนที่ต่าง ระหว่าง “เญิ้ตลิญห์” (Nhat Linh) กับ “ศรีบูรพา”

By Admin

ดร. มนธิรา ราโท อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในบทความชิ้นนี้ผู้เขียนมุ่งศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดและงานเขียนของ “ศรีบูรพา” (พ.ศ. ๒๔๔๘-๒๕๑๗) และ “เญิ้ตลิญห์” (พ.ศ. ๒๔๔๘-๒๕๐๖) นักเขียนผู้มีชื่อเสียงของไทยและเวียดนาม นักเขียนทั้งสองมีชีวิตและสร้างสรรค์ผลงานเขียนในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน นอกจากเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการของงานเขียนในยุคต้นของวรรณกรรมไทยและเวียดนามแล้ว แนวคิดทางการเมืองและสังคมของพวกเขายังมีอิทธิพลต่อนักเขียนและคนรุ่นหลังอีกด้วย ผู้เขียนหวังว่าการเปรียบเทียบผลงานและแนวคิดของ “ศรีบูรพา” และ “เญิ้ตลิญห์” นี้จะช่วยให้เราเข้าใจพัฒนาการของวรรณกรรมสมัยใหม่ของไทยและเวียดนาม รวมไปถึงบทบาทของนักเขียนและปัญญาชนรุ่นใหม่ในสังคมที่กำลังเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ ทั้งนี้เพราะในการศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมนั้นไม่เพียงศึกษาตัวบทวรรณกรรมสองชิ้นเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงการศึกษาและวิเคราะห์บริบทแวดล้อมของงานวรรณกรรมชิ้นนั้นๆ ด้วย ดังเช่นที่นักศึกษาวรรณกรรมชาวตะวันตกผู้หนึ่งได้กล่าวไว้ Literature as a distinct and integral of thought, a common institutional expression of humanity; differentiated, to be sure, by the social conditions of the individual, by racial,…