เขาชื่อกุหลาบ สายประดิษฐ์

By Admin

เสถียร จันทิมาธร ช่วงที่ กุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือ “ศรีบูรพา” กับเพื่อนหนุ่มของเขาร่วมกันจัดตั้งกลุ่มสุภาพบุรุษขึ้นมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๒นั้น เป็นช่วงที่งดงามเบิกบานที่สุดช่วงหนึ่งในประวัติวรรณกรรมไทย ในระยะกาลเดียวกันนั้น ม.จ. อากาศดำเกิง ก็เขียนละครแห่งชีวิต  ออกมาและ “ดอกไม้สด” ก็มีผลงานของเธอปรากฏทางไทยเขษม รายเดือนแทบไม่ขาดสาย  การปรากฏขึ้นมาของนักเขียนกลุ่มสุภาพบุรุษที่มีกุหลาบ สายประดิษฐ์ เป็นผู้นำ จึงเท่ากับเป็นแรงหนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวงวรรณกรรม อันเป็นการเปิดยุคนวนิยายสมัยใหม่ที่เหออกจากแนวการเล่าเรื่องแบบนิทานด้วยการพยายามสะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ของคนเป็นๆ ออกมา จากลูกผู้ชาย-สงครามชีวิต งานของ “ศรีบูรพา” ช่วงก่อน พ.ศ. ๒๔๗๔ ส่วนใหญ่เป็นงานแบบจินตนิยมอันเป็นลักษณะร่วมสมัยอย่างหนึ่งกับงานของนักเขียนรุ่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นลูกผู้ชาย, แสนรัก-แสนแค้น, ผจญบาป, โลกสันนิวาส, ปราบพยศ ตลอดจนสงครามชีวิต ล้วนเป็นเรื่องของความรักความใคร่ เป็นโลกแคบๆ ของอะ แมน แอนด์ อะ วูแมน ที่บางครั้งก็ค่อนข้างจะรุนแรงอย่างเช่น แสนรัก-แสนแค้น หรือแม้แต่ลูกผู้ชาย ก็เป็นลักษณะการแก้แค้นทางอารมณ์อย่างหนึ่ง เพื่อชดเชยบางสิ่งบางอย่างจากการผิดพลาดในเรื่องรักบ้าง ประเพณีที่ปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออกบ้าง  งานในช่วงนี้ของ “ศรีบูรพา” ที่น่าสนใจที่สุดเห็นจะเป็นเรื่องปราบพยศ…

เมื่อผมได้สัมผัสกับตัวหนังสือของ “ศรีบูรพา”

By Admin

อาจิณ จันทรัมพร คุณสุชาติ สวัสดิ์ศรี ซึ่งเป็นมิตรที่คุ้นเคยกันมาก ได้ปรารภมาว่าได้ร่วมเป็นกรรมการจัดทำหนังสือที่ระลึก ๑๐๐ ปีศรีบูรพา เนื่องในวโรกาสที่นักเขียนเอกท่านนี้ได้รับคัดเลือกจากองค์การยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ซึ่งถือเป็นนักเขียนสามัญชนท่านหนึ่งที่ได้รับเกียรติอันสูงส่งนี้ ขอให้ผมซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่มีความสนใจและยกย่อง ทั้งเป็นผู้เสาะแสวงหาผลงานประพันธ์ของ “ศรีบูรพา” มาพิมพ์ขึ้นในโครงการอนุรักษ์วรรณกรรมเก่าและหายากให้แก่สำนักพิมพ์ดอกหญ้า โดยเป็นทั้งบรรณาธิการและผู้รวบรวมงาน ได้เขียนอะไรๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้บ้าง  เมื่อผมได้รับการปรารภและเชิญชวนจากคุณสุชาติ สวัสดิ์ศรี เช่นนี้ ถือว่าได้รับเกียรติสูง โดยเหตุสองประการ คือจะได้สนองเจตนาดีของคุณสุชาติ สวัสดิ์ศรี มิตรผู้มีชื่อเสียงโด่งดังในวงการหนังสือประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งจะได้เขียนแสดงความเทิดทูนต่อนักเขียนเอกท่านนี้ ซึ่งผมมีความสนใจและคลั่งไคล้ผลงานของท่านมาเป็นเวลายาวนานจวบจนถึงกาลปัจจุบัน ผมมีความปฏิพัทธ์ต่อ “ศรีบูรพา” มาเป็นเวลาช้านานดังที่กล่าวแล้ว จึงจะขอเล่าเท่าที่พอจะจำได้ และถ้าการเล่าจากความจำนี้เกิดผิดพลาดไปบ้าง ก็หวังว่าท่านผู้อ่านคงให้อภัย ด้วยคนวัยสูงซึ่งมีอายุถึง ๘๕ ปีอย่างผมนั้น ความจำคงจะเลอะเลือนไปบ้างอย่างแน่นอน เมื่อผมเริ่มอ่านหนังสือแตก และยังเรียนอยู่ชั้นประถมปลาย ผมเริ่มติดการอ่านหนังสือทั่วๆ ไปแล้ว และคงจะเป็นผู้รักการอ่านมาแต่นั้น สำหรับหนังสือที่อ่าน หาได้เรื่องอะไรก็อ่านทั้งนั้น จึงไม่แน่ใจว่าในช่วงนี้จะเคยอ่านงานเขียนของ “ศรีบูรพา” แล้วหรือไม่  แต่ที่แน่ๆ ตอนเป็นหนุ่ม พ.ศ. ๒๔๘๔ ผมพบหนังสือเล่มบางๆ เล่มหนึ่งชื่อวันชาติ เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นของนักเขียนดังสี่ท่าน คือ…

“ศรีบูรพา” กับพัฒนาการนวนิยายไทย

By Admin

ผศ. ดร. ตรีศิลป์ บุญขจร “ศรีบูรพา” เป็นนามปากกาของ กุหลาบ สายประดิษฐ์ นักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ที่มีบทบาทในวงวรรณกรรมไทยตั้งแต่ราว พ.ศ. ๒๔๗๒ จนถึง พ.ศ. ๒๕๐๐ ในวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ จะเป็นวันครบรอบ ๑๐๐ ปีชาตกาลของนักเขียนท่านนี้ และยังเป็นโอกาสสำคัญยิ่งในวงวรรณกรรมไทย คือเป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองเนื่องจากยูเนสโกได้ประกาศให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก บทความนี้จะกล่าวถึงนวนิยายเล่มสำคัญของ “ศรีบูรพา” ได้แก่ ลูกผู้ชาย สงครามชีวิต ข้างหลังภาพ ป่าในชีวิต จนกว่าเราจะพบกันอีก และแลไปข้างหน้า เพื่อชี้ให้เห็นความสำคัญของนวนิยายดังกล่าวที่มีต่อพัฒนาการนวนิยายไทย รุ่งอรุณนวนิยายไทย : ลูกผู้ชาย กับอุดมคติสามัญชน เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๒ “ศรีบูรพา” เป็นหนึ่งในขบวนนักเขียนหนุ่มสาวผู้สร้างสรรค์นวนิยายไทยที่นำเสนอเนื้อหาซึ่งสัมพันธ์กับสังคมไทยในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองอย่างเข้มข้น “ศรีบูรพา” ม.จ. อากาศดำเกิง รพีพัฒน์ และ “ดอกไม้สด” เขียนนวนิยายที่แสดงความนึกคิด ความเชื่อ ความใฝ่ฝันและวิถีชีวิตซึ่งต่างไปจากนวนิยายก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ยังสอดแทรกการวิพากษ์วิจารณ์ปัญหาสังคม ลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นพัฒนาการจากเนื้อหานวนิยายที่มักนิยมเรื่องหวือหวาพาฝัน มุ่งแต่ความสนุกสนานกับเรื่องเกี่ยวกับความรัก…

ข้างหลังภาพ ของ “ศรีบูรพา” ในทัศนะของ ม.ล. บุญเหลือ เทพยสุวรรณ

By Admin

ม.ล. บุญเหลือ เทพยสุวรรณ ข้างหลังภาพ ของ “ศรีบูรพา” เป็นนวนิยายที่รู้จักกันดีและได้รับความนิยมชมชอบอย่างกว้างขวาง นวนิยายเรื่องนี้ใช้กลวิธีของประเภทพาฝัน แต่จบลงด้วยความเศร้า แต่ไม่ถึงกับเป็นทราเจดี ตามหลักของตะวันตก คือไม่ใช่เรื่องของบุคคลที่ใหญ่ยิ่งในด้านสังคมหรือจิตใจ ตัวละครเป็นบุคคลสามัญ แต่ในด้านวรรณศิลป์ ข้าพเจ้าถือว่า เป็นงานเขียนที่ดีเด่นเรื่องหนึ่ง ข้าพเจ้าจะเริ่มด้วยวิเคราะห์เนื้อเรื่องก่อน เนื้อเรื่อง เนื้อเรื่องมีว่า ชายหนุ่มคนหนึ่งมาจากสกุลผู้ดี มีฐานะดี กำลังศึกษาอยู่ในประเทศญี่ปุ่น มีอายุ ๒๒ ปี ชื่อนพพร ได้รับหน้าที่ให้ช่วยเหลือต้อนรับเจ้าคุณอธิการบดีอายุ ๕๐ ปี กับภรรยาที่มีฐานันดรศักดิ์เป็น ม.ร.ว. ชื่อกีรติ ชายหนุ่มคนนี้ได้พบกับคุณหญิงกีรติ ต้องใจในรูปสมบัติ ในมารยาทอันมีเสน่ห์ จึงหลงรัก คุณหญิงก็รักตอบ แต่ไม่ได้ประพฤติผิดจากจริยะที่นิยมกันในสมัยนั้น นพพรมิได้ล่วงเกินทางกายมากกว่าการจูบที่แขน นอกจากนั้นคุณหญิงไม่ได้บอกให้นพพรรู้ว่า คุณหญิงมีความรักนพพร คุณหญิงแสดงแต่ความอ่อนหวานต่อนพพร แสดงให้เห็นว่าคุณหญิงมีความสุขที่จะอยู่ใกล้เขา ไปเที่ยวกับเขาในที่ห่างไกลผู้อื่น พร้อมกันนั้นคุณหญิงก็เตือนเขาให้คิดถึงการศึกษา ให้คำนึงถึงความก้าวหน้าในชีวิตของเขา แล้วเมื่อถึงเวลาที่เจ้าคุณกลับประเทศไทย คุณหญิงก็ลาจากนพพรอย่างมิตรสนิทที่มีความหวังดีต่อมิตรที่เยาว์กว่า ทำให้นพพรเข้าใจว่าแม้คุณหญิงจะมีชีวิตสมรสอันปราศจากความรัก แต่เป็นชีวิตที่ “ผาสุก” คือชีวิตที่ประกอบด้วยความสมบูรณ์ทางทรัพย์ ทางฐานะในสังคม และคุณหญิงเต็มใจทำหน้าที่ภรรยาที่ดีต่อเจ้าคุณตลอดชีวิตของเจ้าคุณ คุณหญิงกีรติมีอายุ…

สงครามชีวิต-ข้างหลังภาพ ข้อเขียนต่าง “หญ้าแพรกกับดอกมะเขือ” บูชาครู “ศรีบูรพา”

By Admin

เชิด ทรงศรี ดูรูปก่อนนะครับ, ปกสงครามชีวิต กับข้างหลังภาพ ที่สำแดงความเก่าเก็บอยู่นี้ เป็นหนังสือสุดบูชาที่เด็กชายคนจนซื้อด้วยเงินงานเขียนสามชิ้นแรก, ดังความขยายได้บรรยายไว้ในนั่งคุยกับความรักโดย เชิด ทรงศรี-คนเดียวกับเด็กชายคนจนบนถนนขรุขระสายอดีต จากนั่งคุยกับความรัก เห็นได้อย่างจะจะว่า ระพินทร์ ยุทธศิลป ในสงครามชีวิต เป็นพระเอกที่ เชิด ทรงศรี เจริญรอยตาม ก็เมื่อ “ศรีบูรพา” เป็นดั่งพรหมผู้ลิขิตชีวิตระพินทร์ให้ผมคลั่งไคล้ใหลหลง ท่านจึงเป็นเช่นเทพเจ้าที่ผมเฝ้าบูชาตลอดวัยเวลาที่อยากเป็นนักประพันธ์ เคยเห็น–แต่ไม่เคยได้พูดกับครู (กุหลาบ สายประดิษฐ์-“ศรีบูรพา”) เลย เมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่บนแผ่นดินไทย ผมยังเด็กเพิ่งจะเริ่มเดินเตาะแตะเลียบโลกวรรณกรรม ต่อเมื่อ “ศรีบูรพา” หาชีวิตไม่แล้ว ระพินทร์ ยุทธศิลป ในนาม เชิด ทรงศรี จึงได้เป็นนักเขียน แล้วล้ำเลยมาเป็นนักทำหนัง วิสัยการทำหนังของผม ถ้าทำจากบทประพันธ์ของใครอื่น สมัครใจที่จะยืนอยู่ข้างเจ้าของบทประพันธ์ นั่นหมายถึงว่ายึดเอาเรื่องเดิมเป็นหลัก-ด้วยความเคารพ อีกทั้งพยายามทุกวิถีทางที่จะศึกษาความรู้สึก-นึก-คิดของผู้เขียน จากตัวจริงและผลงานเขียนชิ้นอื่นๆ ดังเช่นที่เคยปฏิบัติต่อ “ทมยันตี” เมื่อสร้างพ่อปลาไหล, ความรัก (อุบัติเหตุ), ทวิภพ “ไม้เมืองเดิม” เมื่อสร้างแผลเก่า “ยาขอบ” เมื่อสร้างเพื่อน-แพง…

ปริศนาข้างหลังภาพของ “ศรีบูรพา”

By Admin

ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ ข้างหลังภาพ อาจไม่ใช่นวนิยายที่ดีที่สุดของ “ศรีบูรพา” แต่ก็เป็นนวนิยายที่ได้รับความนิยมจากผู้อ่านทุกยุคทุกสมัยมากกว่านวนิยายเล่มอื่นๆ ของ “ศรีบูรพา” ทั้งยังเป็นนวนิยายเล่มเดียวของท่านที่มักถูกนำมาดัดแปลงสร้างเป็นภาพยนตร์ แม้จะไม่ถี่และบ่อยครั้งเท่านวนิยายรักอย่าง บ้านทรายทอง คู่กรรม หรือ ดาวพระศุกร์ ก็ตาม แต่สิ่งที่ทำให้ข้างหลังภาพ พิเศษกว่านวนิยายเล่มอื่นๆ ของท่าน และแตกต่างจาก นวนิยายรักทั่วไป ก็คือ ข้างหลังภาพ เป็นงานที่นักวิจารณ์สำนักต่างๆ นิยมนำมาวิเคราะห์ ค้นหาความหมายที่ซ่อนอยู่ “ข้างหลังภาพ” มาโดยตลอด ข้างหลังภาพ ตีพิมพ์ครั้งแรกเป็นตอนๆ ในหนังสือพิมพ์ประชาชาติ รายวัน เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๘๐ มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับชีวิตรักที่ไม่สมหวังของ ม.ร.ว. กีรติ กุลสตรีผู้เพียบพร้อม แต่กลับหาคนรักมาแต่งงานด้วยไม่ได้ เมื่ออายุล่วงเลยมาถึง ๓๕ ปี เธอจึงจำต้องแต่งงาน กับพ่อม่ายวัย ๕๐ หลังแต่งงานทั้งคู่เดินทางไปฮันนีมูนที่โตเกียว ที่นั่นเธอได้รู้จักกับนพพร นักเรียนนอกวัย ๒๒ ทั้งคู่สนิทสนมกันจนกลายเป็นความรัก โดยนพพรได้สารภาพรักกับ ม.ร.ว. กีรติ คราวเมื่อทั้งคู่ไปเที่ยวธารน้ำตกที่มิตาเกะ…